Project Backup Finance
สินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการ
✔ ให้วงเงินสูงสุดถึง 70% ของมูลค่าโครงการ
✔ ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
✔ อนุมัติเร็ว รู้ผลภายใน 7 วัน หากเอกสารพร้อม
✔ อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 1.25% ต่อเดือน
- Product & Service >
- Product >
- Project Backup Finance
สินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการ คืออะไร?
เมื่อคุณได้งานแล้ว ก็ถึงเวลาที่ต้องลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าสินค้าที่จะส่งมอบ ค่าวัตถุดิบ ให้กับ Supplier ของคุณ หรือค่าแรงงาน สินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการช่วยให้คุณมีเงินทุนสำหรับซื้อสินค้าและบริการจาก Supplier เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการทำงานก่อนได้แม้ว่าคุณจะไม่ได้เครดิตจาก Supplier
สินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการ (Project Backup Finance) คือ สินเชื่อเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้กับผู้ประกอบการ SME ที่มีสัญญาจัดซื้อ/จัดจ้างกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือมีสัญญาซื้อขายสินค้าและบริการกับบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ให้มีเงินทุนเพียงพอสำหรับดำเนินการส่งมอบงาน
โดยคุณจะต้องมีสัญญาหรือเอกสารทางการค้าระหว่างคุณและลูกค้าของคุณ (ลูกหนี้การค้า) เพื่อให้ ลีซ อิท ประกอบการพิจารณาสินเชื่อ โดยให้วงเงินสูงสุด 70% ของมูลค่างาน อนุมัติเร็วภายใน 7 วันหลังจากยื่นเอกสารครบ
ทำไมต้องใช้สินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการกับ ลีซ อิท?
- ช่วยสนับสนุนเงินทุนให้ผู้ประกอบการที่มีสัญญาจัดซื้อ/จัดจ้างกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทเอกชนขนาดใหญ่* ให้มีเงินทุนเพียงพอสำหรับดำเนินงานส่งมอบโครงการของท่านได้อย่างไม่มีสะดุด
- รองรับผู้ประกอบการที่ประมูลงานได้ผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้าง (G-Procurement) โดยลีซ อิท ให้บริการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนตั้งแต่เริ่มต้นจบจบโครงการ
- ช่วยเพิ่มโอกาสแข่งขันของธุรกิจ ท่านให้สามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายในทุกโครงการที่วางไว้
- ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เพียงแค่คุณโอนสิทธิ์การรับเงินของโครงการให้กับลีซ อิท
- ด้วยความเชี่ยวชาญในการให้สินเชื่อแก่ SME ที่ทำงานกับราชการมายาวนาน เราจึงเข้าใจกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง (G-Procurement) ของหน่วยงานราชการ ตลอดจนเข้าใจกระบวนการทำงานของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่เป็นอย่างดี เราจึงพร้อมให้คำปรึกษาเสมือนเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เจ้าหน้าที่ของเราจะคอยให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาทุกขั้นตอน
- ท่านสามารถต่อยอดไปใช้สินเชื่ออื่นๆ ของลีซ อิท ได้ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่อค้ำประกันซองประมูล (Bid Bond & E-Bidding) สินเชื่อ Leasing & Hire Purchase และบริการรับซื้อหนี้ทางการค้า (Factoring) เป็นต้น
สินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการ เหมาะกับใคร
- ผู้ประกอบการที่ประมูลงานราชการ รัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนขนาดใหญ่มาใช้บริการ
- ผู้ประกอบการที่มีแผนที่จะขยายธุรกิจ เช่น เข้าร่วมประมูลงานผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้าง (G-Procurement) และเข้าร่วมเสนองานกับบริษัทเอกชนขนาดใหญ่
ขั้นตอนสินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการ
ตัวอย่างธุรกิจของลูกค้า SMEs
- ธุรกิจเทรดดิ้ง ซื้อมาขายไป
- งานระบบสาธารณูปโภค ระบบไฟฟ้า ประปา ระบบกล้องวงจรปิดป้องกันอัคคีภัย ให้กับอาคารและโรงงาน
- ขายอุปกรณ์ IT และติดตั้งระบบ IT
- จัดอีเว้นท์ นิทรรศการ งานประกวดแข่งขัน จัดงานแสดงสินค้า งานนวัตวิถี
- ธุรกิจสิ่งพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ สื่อการตลาด Point of sale materials (POSM)
- ผลิตสื่อภาพยนตร์ วีดีทัศน์ รายการต่างๆ เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น
- รับจ้างผลิตและจำหน่ายของพรีเมี่ยม เสื้อ ชุดยูนิฟอร์ม
- รับจ้างดูแล ทำความสะอาดอาคาร ภูมิทัศน์
- ผลิตและจำหน่ายสินค้าเข้าโมเดิร์นเทรด ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ
- รับจ้างเหมาแรงงาน พนักงาน แม่บ้าน รปภ.
- จำหน่ายและติดตั้งเครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องมือทางวิชาชีพ เครื่องมือวิทยาศาสตร์
- จำหน่ายและติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงงาน
- ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์
- ธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหาร ผงปรุงรสและวัตถุดิบเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
- จำหน่ายและผลิตเคมีภัณฑ์
- ธุรกิจบริการต่างๆ
- ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์แต่งบ้านอาคาร สำนักงาน
- ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ตกแต่งภายใน
- ธุรกิจต่อรถ ต่อเรือ ยานยนต์ รถเพื่อการพานิชย์
จากใจลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการ
คุณสาธิต
เจ้าของธุรกิจบริการด้านเทคโนโลยี
"ลีซ อิท เป็นที่ปรึกษาทางด้านการเงินให้เรา ช่วยให้เราบริหารจัดการลูกหนี้ที่ชำระเงินล่าช้า ทำให้เราไม่ต้องรอการชำระเงินนาน ๆ ทำให้บริษัทเรามีเงินมาจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงาน โดยที่เราไม่ต้องเป็นหนี้ ไม่เหมือนการกู้ยืมเงินจากธนาคาร เพราะเป็นการนำเงินที่เราจะได้จากลูกค้าในอนาคตมาใช้ รวมถึงการบริการที่เป็นกันเอง มีหลักเกณฑ์การอนุมัติที่ยืดหยุ่น ให้วงเงินสูง ทำให้ธุรกิจเราไม่สะดุด ตอบโจทย์ครบทุกด้าน"
1. ผู้ประกอบการที่มีสัญญาจัดซื้อ/จัดจ้างของหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้น ๆ และไม่มีประวัติการทิ้งงาน หรือถูกเรียกร้องให้ชดเชยความเสียหายจากหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ
2. ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจจดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล
- บริษัทจำกัด (บจก.)
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.)
- กิจการร่วมค้า
- กิจการค้าร่วม
- บริษัทจำกัดมหาชน (บมจ.)
3. ผู้ประกอบการที่มีลูกหนี้การค้า*
- หน่วยงานราชการ
- รัฐวิสาหกิจ
- บริษัทเอกชนขนาดใหญ่
*ลูกหนี้การค้า หรือ ลูกหนี้ (Account Receivable) คือ ผู้ที่ลูกค้าได้ทำงานส่งมอบสินค้า
หรือบริการให้ โดยลูกค้าได้ให้ระยะเวลาการรอคอยการชำระเงิน (Credit Term) กับลูกหนี้
เช่น Credit Term 30 วัน หรือ 45 วัน เป็นต้น
เอกสารบริษัททั่วไป
- ทะเบียนบ้าน (กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม)
- บัตรประชาชน (กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม)
- ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองบริษัท (ไม่เกิน 3 เดือน)
- ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20)
- รายการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (บอจ. 3)
- หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ. 2)
- ทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ. 5)
- รายงานข้อมูลเครดิต (รายงานเครดิตบูโร) ของบริษัทและกรรมการ (ถ้ามี)
- เอกสารแนะนำบริษัท (Company Profile) เช่น ประวัติบริษัท และประวัติกรรมการ (ถ้ามี)
เอกสารแสดงฐานะการเงินและรายได้ของบริษัท
- บัญชีธนาคาร (Statement) ย้อนหลัง 6 เดือน
- งบการเงิน ย้อนหลัง 3 ปี (กรณีเปิดไม่ถึง 3 ปี ส่งเท่าที่มีถึงปีปัจจุบัน)
- แบบภ.พ.30 ย้อนหลัง 6 เดือน
- สรุปรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย ย้อนหลัง 6 เดือน
เอกสารประกอบเพิ่มเติม
- ใบรับรองผลงานมาประกอบพิจารณา
- ตัวอย่างงานสัญญาซื้อขาย/สัญญาติดตั้ง หรือสัญญาอื่นๆ ที่ผ่านมา เช่น สัญญางาน สำเนาใบสั่งซื้อ ใบเสร็จรับเงิน
- ตัวอย่างงานใหม่ ที่จะต้องการสินเชื่อ เช่น ใบสั่งซื้อ ใบตรวจรับงาน ใบวางบิล สัญญาปัจจุบัน
- ชุดเอกสารตัวอย่างการวางบิลและวิธีการเก็บเงินของลูกหนี้ที่จะนำมาขาย พร้อมแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนลูกหนี้