การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
1. นโยบายและเป้าหมาย
บริษัทได้กำหนดทิศทางด้านความยั่งยืนใน 3 มิติหลักโดยอยู่ภายใต้กรอบการดำเนินงานตามหลัก
บรรษัทภิบาลที่ดี ดังต่อไปนี้
1. มิติเศรษฐกิจ
ส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานในการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยเป็นแหล่งเงินทุนทางเลือกที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพในการเติบโตทางธุรกิจ แต่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ ซึ่งบางรายอาจจำเป็นต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการขยายกิจการตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้
- นวัตกรรมทางด้านผลิตภัณฑ์ทางการเงิน บริษัทฯ มีนวัตกรรมทางการเงินหลากหลายที่ออกแบบมาเพื่อให้ SMEs โดยเฉพาะ เพื่อให้ลูกค้า SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพที่
แท้จริง เพื่อให้ผู้ประกอบการเติบโตตามศักยภาพและขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างสมบูรณ์ - True Financial Partner บริษัทฯ สนับสนุนและเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับ SMEs ให้มีความรู้ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน บนปรัชญาการเติบโตไปพร้อม ๆ กันระหว่างลูกค้ากับบริษัทฯ เสมือนหุ้นส่วนทางการเงินตามปรัชญาที่ว่า “True Financial Partner”
2. มิติสังคม
พัฒนาสังคมให้เข้มแข็ง
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคมให้เข้มแข็ง ตามแนวทางปฏิบัติของกระบวนการกำกับดูแลกิจการ
ที่ดี บริษัทฯ จึงได้กำหนดแนวทางสำหรับผู้บริหารและพนักงานในการยึดถือปฏิบัติ ในเรื่อง การต่อต้านการธุรกิจคอร์รัปชั่น, การเคารพสิทธิมนุษยชน, การดำเนินงานด้านบัญชี, การปฏิบัติต่อแรงงานอยางเป็นธรรม, สุขภาวะและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน, การประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรมและรับผิดชอบต่อคู่ค้า, การละเมิด และการบริหารห่วงโซ่อุปทาน
3. มิติสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่มีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม บริษัทฯ และพนักงานได้สร้างจิตสำนึกรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีความเชื่อว่าจุดเล็ก ๆ เมื่อรวมกันหลาย ๆ จุด จะเป็นกลุ่มและพลังที่จะสามารถลดหรือบรรเทาภาวะมลพิษได้
2. ห่วงโซ่คุณค่า
ในการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ มีกิจกรรมหลักและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ ดังนี้
3. ประเด็นสำคัญทางธุรกิจ
3.1 การระบุประเด็นสำคัญทางธุรกิจ บริษัทฯ พิจารณาจากกลยุทธ์ขององค์กรและผลกระทบต่อ
ผู้มีส่วนได้เสียโดยเชื่อมโยงเข้ากับผู้มีส่วนได้เสียภายในและภายนอก ดังนี้
3.2 การจัดลำดับประเด็นสำคัญทางธุรกิจ